วิธีการใช้อินดิเคตอร์ MACD เพื่อพัฒนาทักษะการเทรดคริปโตของคุณ
Antreas Themistokleous
ผู้เชี่ยวชาญด้านการเทรดของ Exness
ข้อมูลนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำการลงทุน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่อาจใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ผลการดำเนินงานในอนาคต เงินลงทุนของคุณมีความเสี่ยง โปรดเทรดอย่างรอบคอบ
แชร์
ในคู่มือฉบับนี้:
- อินดิเคเตอร์ MACD คืออะไร
- การคำนวณ Moving Average Convergence Divergence
- วิธีการตีความสัญญาณอินดิเคเตอร์ MACD
- วิธีการใช้ MACD ระบุแนวโน้ม
- ความไม่สอดคล้องกันที่เป็นบวกและลบ
- การเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์ MACD ด้วยอินดิเคเตอร์อื่นๆ ในคริปโต
- 5 เคล็ดลับการใช้อินดิเคเตอร์ MACD ในการเทรดคริปโต
- พร้อมใช้กลยุทธ์การเทรดคริปโตด้วย MACD ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดแล้วหรือยัง
หากคุณกำลังต้องการพัฒนาทักษะการเทรดและใช้ประโยชน์สูงสุดจากอินดิเคเตอร์ MACD ในการเทรดคริปโต นี่คือแหล่งข้อมูลที่ยอดเยี่ยมสำหรับคุณ อ่านข้อมูลเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญในคู่มือฉบับนี้
เส้น MACD (Moving Average Convergence Divergence) เป็นอินดิเคเตอร์การวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในสาขาการวิเคราะห์ทางเทคนิค MACD พัฒนาขึ้นโดย Gerald Appel ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 และได้กลายมาเป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในกลุ่มเทรดเดอร์และนักลงทุน ด้วยความสามารถในการระบุการกลับตัวของแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นและสร้างสัญญาณซื้อหรือขาย ทำให้อินดิเคเตอร์ตัวนี้เป็นที่ชื่นชอบของเทรดเดอร์คริปโต แต่เทรดเดอร์จำนวนมากยังคงไม่สามารถเข้าใจถึงศักยภาพของ MACD ได้อย่างถ่องแท้และยังใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
ในคู่มือนี้ เราจะอธิบายถึงองค์ประกอบของอินดิเคเตอร์ MACD การตีความสัญญาณ เคล็ดลับที่ปฏิบัติได้จริง และวิธีการใช้งานในสภาพตลาดต่างๆ
อินดิเคเตอร์ MACD คืออะไร
อินดิเคเตอร์ MACD มีองค์ประกอบหลักสามอย่างคือเส้น MACD เส้นสัญญาณ และฮิสโตแกรม คุณจำเป็นจะต้องเข้าใจบทบาทของแต่ละองค์ประกอบก่อนจึงจะสามารถตีความสัญญาณได้อย่างแม่นยำ
เส้น MACD
เส้น MACD คำนวณจากการนำเส้นค่าเฉลี่ยแบบ Exponential (EMA) ระยะยาวมาลบกับเส้น EMA ระยะสั้น ซึ่งจะเป็นส่วนต่างระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยแบบ Exponential สองเส้นและใช้ระบุการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้น
เส้นสัญญาณ
เส้นสัญญาณคือเส้นค่าเฉลี่ยของเส้น MACD โดยปกติจะเป็นเส้น EMA 9 วัน ซึ่งจะทำให้ความผันผวนของเส้น MACD ราบเรียบขึ้นและสร้างสัญญาณซื้อหรือขาย เมื่อเส้นดังกล่าวตัดขึ้นไปเหนือหรือลงมาใต้เส้น
MACD ฮิสโตแกรม
MACD ฮิสโตแกรม (MACD Histogram) MACD แสดงส่วนต่างระหว่างเส้น MACD และเส้นสัญญาณ โดยจะแสดงความสอดคล้องหรือความไม่สอดคล้องกันระหว่างทั้งสองเส้นออกมาให้เห็นเป็นภาพ เพื่อชี้ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้ม
การคำนวณ Moving Average Convergence Divergence
เพื่อให้สามารถได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกลไกที่อยู่เบื้องหลังของ MACD และตีความสัญญาณอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเทรดคริปโต คุณจำเป็นต้องเข้าใจวิธีการคำนวณ MACD ก่อน โดยการคำนวณมีขั้นตอนดังนี้
เส้นค่าเฉลี่ยแบบ Exponential (EMA) ระยะสั้น
คุณสามารถคำนวณ EMA ระยะสั้นได้โดยการเพิ่มน้ำหนักให้กับข้อมูลราคาล่าสุด ซึ่งจะส่งผลให้เส้นตอบสนองมากขึ้น
EMA ระยะยาว
EMA ระยะยาวเป็นการแสดงการเคลื่อนไหวของราคาที่มีการปรับให้ราบเรียบในช่วงเวลาที่นานขึ้น เพื่อลดสัญญาณรบกวนในระยะสั้น
การคำนวณเส้น MACD
คุณสามารถคำนวณเส้น MACD ได้โดยการลบ EMA ระยะยาวออกจาก EMA ระยะสั้น
การคำนวณเส้นสัญญาณ
เส้นสัญญาณที่ใช้มักจะเป็นเส้น EMA 9 วันของเส้น MACD
การคำนวณฮิสโตแกรม
ในการกำหนดฮิสโตแกรม คุณจะต้องลบเส้นสัญญาณออกจากเส้น MACD
วิธีการตีความสัญญาณอินดิเคเตอร์ MACD
คุณสามารถตีความสัญญาณซื้อและขายด้วย MACD จากจุดตัดและความไม่สอดคล้องกัน
จุดตัดของ MACD
จุดตัดเกิดขึ้นเมื่อเส้น MACD และเส้นสัญญาณตัดกัน จุดตัดขาขึ้นเกิดขึ้นเมื่อเส้น MACD ตัดขึ้นเหนือเส้นสัญญาณ ซึ่งแสดงถึงโอกาสเกิดแนวโน้มขาขึ้น ในทางตรงกันข้าม จุดตัดขาลงเกิดขึ้นเมื่อเส้น MACD ตัดลงใต้เส้นสัญญาณ ซึ่งแสดงถึงโอกาสเกิดแนวโน้มขาลง
สัญญาณการกลับตัว
ความไม่สอดคล้องกันหมายถึงความแตกต่างร ะหว่างทิศทางของราคาและอินดิเคเตอร์ MACD ความไม่สอดคล้องกันที่เป็นบวกเกิดขึ้นเมื่อการเคลื่อนไหวของราคาทำจุดต่ำสุดที่ต่ำลง ขณะที่เส้น MACD ทำจุดต่ำสุดที่สูงขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโอกาสการกลับตัวของแนวโน้ม ส่วนความไม่สอดคล้องกันที่เป็นลบจะเกิดขึ้นเมื่อการเคลื่อนไหวของราคาทำจุดสูงสุดที่สูงขึ้น ขณะที่เส้น MACD ทำจุดสูงสุดที่ต่ำลง ซึ่งแสดงถึงโอกาสการกลับตัวของแนวโน้ม
วิธีการใช้ MACD ระบุแนวโน้ม
หนึ่งในการใช้งานอินดิเคเตอร์ MACD ที่พบบ่อยคือการระบุแนวโน้ม การทำความเข้าใจวิธีการตีความสัญญาณซื้อและขายด้วย MACD อย่างแม่นยำจะช่วยให้คุณสามารถระบุจุดเข้าและออกที่เป็นไปได้ในตลาด
จุดตัด ของเส้นขาขึ้นและขาลง
จุดตัดระหว่างเส้น MACD กับเส้นสัญญาณจะสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการกลับตัวของแนวโน้มและสัญญาณซื้อหรือขายที่อาจเกิดขึ้นซึ่งเป็นโอกาสในการเทรด
จุดตัดของ MACD ขาขึ้น
จุดตัดของเส้นสัญญาณ MACD ที่เป็นขาขึ้นเกิดขึ้นเมื่อเส้น MACD ตัดขึ้นไปเหนือเส้นสัญญาณ สัญญาณนี้แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มระยะสั้นกำลังจะเปลี่ยนเป็นขาขึ้น ซึ่งแสดงถึงโอกาสในการซื้อ
จุดตัดของ MACD ที่เป็นขาลง
จุดตัดของเส้นสัญญาณ MACD ที่เป็นขาลงเกิดขึ้นเมื่อเส้น MACD ตัดลงไปใต้เส้นสัญญาณ สัญญาณนี้แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มระยะสั้นกำลังจะเปลี่ยนเป็นขาลง ซึ่งแสดงถึงโอกาสในการขา ย
สัญญาณหลอกและการยืนยัน
คุณจำเป็นต้องพิจารณาการเกิดสัญญาณหลอกและมองหาการยืนยันจากอินดิเคเตอร์การวิเคราะห์ทางเทคนิคหรือรูปแบบราคาอื่นๆ ก่อนที่จะทำการเทรดโดยอาศัยจุดตัดของเส้นสัญญาณ MACD เพียงอย่างเดียว
ความไม่สอดคล้องกันที่เป็นบวกและลบ
ความไม่สอดคล้องกันระหว่างอินดิเคเตอร์ MACD กับราคาอาจเป็นข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับโอกาสการกลับตัวของแนวโน้ม
ความไม่สอดคล้องกันที่เป็นบวก
ความไม่สอดคล้องกันที่เป็นบวกเกิดขึ้นเมื่อราคาทำจุดต่ำสุดที่ต่ำลง ขณะที่เส้น MACD ทำจุดต่ำสุดที่สูงขึ้น สัญญาณนี ้แสดงให้เห็นว่าแรงขายกำลังอ่อนกำลังลงและอาจมีโอกาสเกิดการกลับตัวของแนวโน้มเป็นขาขึ้น
ความไม่สอดคล้องกันที่เป็นลบ
ความไม่สอดคล้องกันที่เป็นลบเกิดขึ้นเมื่อราคาทำจุดสูงสุดที่สูงขึ้น ขณะที่เส้น MACD ทำจุดสูงสุดที่ต่ำลง สัญญาณนี้แสดงให้เห็นว่าโมเมนตัมขาขึ้นในการซื้อกำลังอ่อนแอลงและอาจมีโอกาสเกิดการกลับตัวของแนวโน้มเป็นขาลง
จากตรงนี้ เราจะเห็นกราฟราคาที่มีจุดสูงสุดที่สูงขึ้น ขณะที่เส้น MACD สีน้ำเงินทำจุดสูงสุดที่ต่ำลง นี่เป็นความไม่สอดคล้องกันที่เป็นขาลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโมเมนตัมขาลงกำลังจะเกิดขึ้น
การระบุการกลับตัวของแนวโน้ม
ความไม่สอดคล้องกันที่เป็นบวกและลบอาจถือเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าสำหรับการกลับตัวของแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณจำเป็นต้องยืนยันสัญญาณเหล่านี้ด้วยอินดิเคเตอร์การวิเคราะห์ทางเทคนิคหรือรูปแบบราคาอื่นๆ ก่อนที่จะทำการตัดสินใจเทรด
การกำหนดความแข็งแกร่งของแนวโน้ม
คุณสามารถใช้ฮิสโตแกรม MACD เพื่อประเมินความแข็งแกร่งของแนวโน้มได้
ฮิสโตแกรม MACD
ฮิสโตแกรม MACD เป็นส่วนต่างระหว่างเส้น MACD กับเส้นสัญญาณ ซึ่งแสดงถึงความสอดคล้องและไม่สอดคล้องกันระหว่างทั้งสองเส้นออกมาให้เห็นเป็นภาพ โดยฮิสโตแกรม MACD ที่สูงขึ้นแสดงถึงโมเมนตัมที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ฮิสโตแกรม MACD ที่ต่ำลงแสดงถึ งโมเมนตัมที่ลดลง
เส้นศูนย์
ตำแหน่งของฮิสโตแกรมที่สัมพันธ์กับเส้นศูนย์ยังให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความแข็งแกร่งของแนวโน้มได้ โดยค่าที่เป็นบวกเหนือเส้นศูนย์จะหมายถึงแนวโน้มขาขึ้น ขณะที่ค่าที่เป็นลบใต้เส้นศูนย์จะหมายถึงแนวโน้มขาลง
พร้อมทดลองใช้อินดิเคเตอร์ทางเทคนิคบนบัญชีทดลองหรือบัญชี Standard Cent แล้วหรือยัง
การเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์ MACD ด้วยอินดิเคเตอร์อื่นๆ ในคริปโต
แม้ว่า MACD จะเป็นอินดิเคเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในตัวเอง แต่เมื่อคุณใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคอื่นๆ จะช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์ตลาดคริปโตได้ครอบคลุมยิ่งขึ้น
การใช้อินดิเคเตอร์ MACD ร่วมกับเส้นค่าเฉลี่ย
การใช้เส้น MACD (Moving Average Convergence Divergence) ร่วมกับเส้นค่าเฉลี่ยอื่นๆ จะช่วยเป็นสัญญาณยืนยันเพิ่มเติมและช่วยกรองสัญญาณหลอกออกไปได้
Golden Cross และ Death Cross
Golden Cross เกิดขึ้นเมื่อเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น (เช่น MA 50 วัน) ตัดขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ยที่มีระยะยาวกว่า (เช่น MA 200 วัน) โดยเป็นสัญญาณว่าอาจเกิดแนวโน้มขาขึ้น ส่วน Death Cross เกิดขึ้นเมื่อเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นตัดลงมาใต้เส้นค่าเฉลี่ยที่ระยะยาวกว่า ซึ่งแสดงถึงโอกาสเกิดแนวโน้มขาลง
กราฟราคาระยะยาวนี้ใช้เส้น SMA 50 วันแทนเส้น EMA 9 วัน เป็น MA ที่เร็วกว่า โดย Golden Cross ในกราฟนี้ค่อนข้างชัดเจน แต่มีความไม่สอดคล้องกันที่เป็นขาลงจาก MACD ไม่ใช่ความไม่สอดคล้องกันที่เป็นขาขึ้น
เส้นค่าเฉลี่ยในฐานะแนวรับและแนวต้าน
การใช้เส้นค่าเฉลี่ยเป็นระดับแนวรับหรือแนวต้านสามารถใช้เป็นข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับโอกาสเกิดการกลับตัวของราคา เมื่อใช้ร่วมกับสัญญาณ MACD
MACD และ RSI
การใช้ MACD ร่วมกับดัชนี RSI (Relative Strength Index) สามารถช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์แนวโน้มและระบุภาวะการซื้อมากเกินไปหรือภาวะการขายมากเกินไปที่อาจ เกิดขึ้นได้
ภาวะการซื้อมากเกินไปและภาวะการขายมากเกินไป
เมื่อ RSI ถึงระดับภาวะการซื้อมากเกินไป (เช่น สูงกว่า 70) และ MACD ทำจุดตัดขาลงหรือความไม่สอดคล้องกันที่เป็นลบ แสดงว่าอาจเกิดการกลับตัวไปสู่ขาลง ในทางตรงกันข้าม หาก RSI ตกลงมาที่ระดับภาวะการขายมากเกินไป (เช่น ต่ำกว่า 30) และ MACD ทำจุดตัดขาขึ้นหรือความไม่สอดคล้องกันที่เป็นบวก แสดงว่าอาจเกิดการกลับตัวไปสู่ขาขึ้นในตลาด
ความสอดคล้องกันและความไม่สอดคล้องกัน
เมื่อคุณสังเกตเห็นความสอดคล้องกันระหว่างอินดิเคเตอร์ MACD กับ RSI นี่อาจเป็นสัญญาณยืนยันเพิ่มเติมของแนวโน้มปัจจุบัน ในทางตรงกันข้าม หากคุณสังเกตเห็นความไม่สอดคล้องกัน ก็อาจเป็นสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้ม
MACD และปริมาณการซื้อขาย
การวิเคราะห์ปริมาณการซื้อขายร่วมกับ MACD จะช่วยให้คุณได้รับข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับความแข็งแกร่งของการเคลื่อนไหวของราคาและโอกาสเกิดการกลับตัวของแนวโน้ม
การยืนยันด้วยปริมาณการซื้อขาย
เมื่อ MACD สร้างจุดตัดขาขึ้นหรือความไม่สอดคล้องกันที่เป็นบวก พร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นี่อาจเป็นการยืนยันโอกาสเกิดแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแกร่งขึ้น ในทำนองเดียวกัน จุดตัดขาลงของ MACD หรือความไม่สอดคล้องกันที่เป็นลบ ซึ่งมาพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้น จะแสดงถึงโอกาสเกิดแนวโน้มขาลงที่แข็งแกร่งขึ้น
ความไม่สอดคล้องกันของปริมาณการซื้อขาย
ความไม่สอดคล้องกันระหว่างปริมาณการซื้อขายและอินดิเคเตอร์ MACD อาจเป็นสัญญาณของโอกาสเกิดการกลับตัวของแนวโน้ม เช่น หากราคาทำจุดสูงสุดที่สูงขึ้นแต่มีปริมาณการซื้อขายที่ลดลง ก็อาจแสดงถึงแรงซื้อที่อ่อนกำลังลงและมีโอกาสเกิดการกลับตัวของแนวโน้ม
5 เคล็ดลับการใช้อินดิเคเตอร์ MACD ในการเทรดคริปโต
ในการใช้ประโยชน์สูงสุดจากอินดิเคเตอร์ MACD ในการเทรดคริปโตเคอร์เรนซี คุณจำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือนี้อย่างเหมาะสมและมีวินัย ลองพิจารณาเคล็ดลับต่อไปนี้เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจเทรดคริปโตของคุณ
เคล็ดลับที่ 1 การเล ือกกรอบเวลา
สัญญาณอินดิเคเตอร์ MACD อาจแตกต่างกันไปตามกรอบเวลาที่ใช้ เลือกกรอบเวลาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลยุทธ์การเทรดคริปโตของคุณ กรอบเวลาที่สั้นจะมีสัญญาณเทรดบ่อยครั้งแต่อาจมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่า ขณะที่กรอบเวลายาวจะมีสัญญาณเทรดน้อยแต่น่าเชื่อถือมากกว่า
เคล็ดลับที่ 2 การยืนยันสัญญาณด้วยอินดิเคเตอร์เพิ่มเติม
เพื่อเพิ่มความแม่นยำให้กับสัญญาณอินดิเคเตอร์ MACD ลองใช้อินดิเคเตอร์ทางเทคนิคอื่น เช่น เส้นแนวโน้ม ระดับแนวรับและแนวต้าน หรือรูปแบบแท่งเทียน เพื่อยืนยันสัญญาณก่อนที่จะเริ่มเทรดคริปโต คุณสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการค้นหารายการอินดิเคเตอร์และวิธีการนำไปใช้ในกราฟได้จากพื้นที่ส่วนบุคคลของคุณ เม ื่อคุณลงทะเบียนบัญชีซื้อขายของ Exness เรียบร้อยแล้ว
เคล็ดลับที่ 3 หลีกเลี่ยงตลาดที่ผันผวน
ในช่วงเวลาที่ตลาดมีความผันผวนต่ำหรือเคลื่อนไหวในแนวข้าง สัญญาณ MACD อาจมีความน่าเชื่อถือน้อยลง จึงขอแนะนำให้ใช้ความระมัดระวังและมองหาการยืนยันจากอินดิเคเตอร์อื่นๆ หรือรอให้เห็นแนวโน้มที่ชัดเจนขึ้น
เคล็ดลับที่ 4 การกำหนดระดับ Stop Loss และ Take Profit
การใช้มาตรการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญเมื่อใช้อินดิเคเตอร์ MACD หรืออินดิเคเตอร์ใดก็ตาม ให้กำหนดระดับ Stop Loss และ Take Profit ตามระดับความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้และสภาพตลาดโดยทั่วไปเพื่อปกป้องเงินทุนและรักษ ากำไร
เคล็ดลับที่ 5 การทดสอบและปรับปรุงประสิทธิภาพ
ก่อนที่จะนำคุณสมบัติต่างๆ ของอินดิเคเตอร์ MACD ไปใช้ในการเทรดคริปโตในตลาดจริง ลองทดสอบกับการเคลื่อนไหวของราคาและข้อมูลในอดีตอย่างละเอียดเพื่อประเมินประสิทธิภาพในสภาพตลาดต่างๆ ปรับเปลี่ยนพารามิเตอร์ของอินดิเคเตอร์ตามโมเมนตัมนี้ให้เหมาะสมตามรูปแบบการเทรดและลักษณะของตลาดที่คุณกำลังเทรดอยู่ ที่ Exness เราให้บริการเทรดสินทรัพย์หลากหลายประเภท ดังนั้นคุณจึงควรค้นคว้าหาข้อมูลและเปรียบเทียบว่าอินดิเคเตอร์นี้มีประสิทธิภาพเพียงใดในสินทรัพย์แต่ละประเภท
คำถามที่พบบ่อย
กลยุทธ์ MACD ที่ดีที่สุดคืออะไร
อินดิเคเตอร์ MACD เองเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับเทรดเดอร์ทุกประเภท แต่ไม่มีอินดิเคเตอร์ใดที่สมบูรณ์แบบ หากต้องการสร้างกลยุทธ์ที่ดีที่สุด คุณจะต้องตัดสินใจว่าคุณต้องการเป็นเทรดเดอร์รูปแบบใดและต้องการเทรดบ่อยเพียงใด เมื่อทราบแล้วจึงเริ่มทดลองใช้อินดิเคเตอร์ MACD ร่วมกับเครื่องมือทางเทคนิคอื่นๆ เพื่อช่วยคุณตัดสินใจเทรดอย่างมีข้อมูลครบถ้วน โดยอินดิเคเตอร์ที่มักใช้ร ่วมด้วยมากที่สุดคือเส้นค่าเฉลี่ย (จุดตัดของเส้นสัญญาณเทรด) ดัชนี RSI และอินดิเคเตอร์ปริมาณการซื้อขาย
อินดิเคเตอร์ตามแนวโน้มตัวใดดีกว่ากันระหว่าง MACD หรือ RSI
อันดับแรก อินดิเคเตอร์ทั้งสองตัวเป็นอินดิเคเตอร์โมเมนตัมตามแนวโน้ม หมายความว่าอินดิเคเตอร์เหล่านี้จะวัดประเมินจากสิ่งที่เคยเกิดขึ้นไปแล้ว จึงไม่สามารถอ้างอิงอินดิเคเตอร์ตัวใดได้เป็นการเฉพาะ ทั้งสองตัวถือเป็น "อินดิเคเตอร์ตัวชี้วัดตาม" (Lagging Indicator) ที่ทั้งเทรดเดอร์มือใหม่และเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์นิยมใช้ ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้ามความน่าเชื่อถือของอินดิเคเตอร์ นั่นคือไม่ควรหาคำตอบว่า "อินดิเคเตอร์ตัวชี้วัดตาม" ใดดีกว่าหรือเป็นอินดิเคเตอร์ตัวชี้วัดนำ แต่ควรถามว่ามีกลยุทธ์ดีๆ ที่จะใช้อินดิเคเตอร์เหล่านี้ร่วมกันหรือไม่ ซึ่งคำตอบก็ง่ายมากคือ มี! การใช้อินดิเคเตอร์ที่ค่อนข้างน่าเชื่อถือสองตัวนี้และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับรูปแบบการเทรดของคุณคือแนวทางที่ดีที่สุด
วิธีการใช้อินดิเคเตอร์ MACD
อินดิเคเตอร์ MACD (Moving Average Convergence Divergence) เป็นเครื่องมือแสดงโมเมนตัมที่ใช้เทรดแนวโน้ม โดยประกอบด้วยเส้นสองเส้นที่ตัดกันเป็นสัญญาณเทรด เมื่อ MACD ตัดขึ้นมาเหนือศูนย์ จะถือว่าเป็นขาขึ้น และเมื่อตัดลงมาต่ำกว่าศูนย์ จะถือว่าเป็นขาลง ในช่วงการเทรด MACD อาจมีความผันผวน โดยทั่วไปจึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ ยงการเทรดในสถานการณ์นี้ เนื่องจากอินดิเคเตอร์ตัวนี้จะทำงานได้ดีในตลาดการเงินที่มีแนวโน้ม ความไม่สอดคล้องกันระหว่าง MACD และการเคลื่อนไหวของราคาอาจเป็นสัญญาณที่แข็งแกร่ง
เส้นศูนย์ของ MACD อยู่ที่ไหน
ฮิสโตแกรม MACD แสดงช่องว่างระหว่าง MACD กับ EMA 9 วัน ไม่ใช่จุดสูงสุดและจุดต่ำสุด ฮิสโตแกรมจะอยู่ในพื้นที่ที่เป็นบวกเมื่อ MACD สูงกว่า EMA 9 วัน และจะอยู่ในพื้นที่ที่เป็นลบเมื่ออยู่ต่ำกว่า โดยเส้นศูนย์บนฮิสโตแกรมจะแสดงถึงเวลาที่ไม่มีโมเมนตัม
พร้อมใช้กลยุทธ์การเทรดคริปโตด้วย MACD ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดแล้วหรือยัง
อินดิเคเตอร์ MACD เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพซึ่งสามารถมอบข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับแนวโน้มตลาดและโอกาสในการเทรด การทำความเข้าใจองค์ประกอบต่างๆ การตีความสัญญาณ และการใช้งานร่วมกับอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคอื่นๆ และการทำตามเคล็ดลับที่นำไปปฏิบัติได้จริงจะช่วยให้คุณมีขั้นตอนการตัดสินใจที่ดียิ่งขึ้นและช่วยให้ผลการเทรดของคุณดีขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม คุณจำเป็นต้องระลึกไว้เสมอว่าไม่มีอินดิเคเตอร์ใดที่จะไม่มีทางผิดพลาดเลย จึงควรใช้การจัดการความเสี่ยงทุกครั้ง เมื่อฝึกฝน ทดลอง และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง คุณจะสามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพของ MACD เพื่อสร้างความได้เปรียบในตลาดการเงิน
ดังนั้น ลองเปิดรับอินดิเคเตอร์ MACD ฝึกฝนให้เชี่ยวชาญ และปลดล็อกศักยภาพของเครื่องมือนี้เพื่อยกระดับทักษะการเทรดคริปโตของคุณ อย่าลืมว่าการฝึกฝนและการปรับตัวอย่างต่อเนื่องคือกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในโลกการเทรดและการลงทุนที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ค้นพบขีดความสามารถทั้งหมดของอินดิเคเตอร์ MACD รวมถึงเครื่องมือทางเทคนิคอื่นๆ ด้วยการใช้งานในบัญชีซื้อขาย Exness ของคุณ
แชร์
เริ่มเทรดเลย
ข้อมูลนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำการลงทุน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่อาจใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ผลการดำเนินงานในอนาคต เงินลงทุนของคุณมีความเสี่ยง โปรดเทรดอย่างรอบคอบ