พวกเราเป็นเทรดเดอร์

3 เคล็ดลับการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนที่จำเป็นต้องรู้

ด้วย Team Exness

risk management.jpg

หากคุณคืออีกคนที่กำลังมองหาวิธีที่จะใช้ประโยชน์จากภาวะผันผวนของเศรษฐกิจในปัจจุบัน ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงและอัตราดอกเบี้ยที่ไม่แน่นอน ภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันอาจดูน่ากลัว แต่ในขณะเดียวกันภาวะผันผวนนี้ก็อาจนำพามาซึ่งโอกาสที่ไม่เคยมีมาก่อนได้เช่นกัน

การเทรดโดยใช้หลักการบริหารความเสี่ยงจะช่วยให้นักลงทุนสามารถใช้ประโยชน์จากแนวโน้มทางเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อการสร้างผลกำไร

เมื่อมูลค่าของเงินที่คุณหามาได้อย่างยากลำบากต้องขึ้นอยู่กับภาวะเงินเฟ้อ Exness เสนอช่องทางที่ไม่เพียงแต่ช่วยรักษาเงินของคุณไว้ แต่ยังเพิ่มโอกาสในการเติบโตของความมั่งคั่งให้คุณ การเทรดออนไลน์กลายเป็นสัญญาณสำหรับนักลงทุนที่มีความรู้ที่ต้องการรับมือกับกระแสความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม การจะประสบความสำเร็จได้นั้น ไม่เพียงแต่จะต้องเข้าถึงเครื่องมือที่เหมาะสมเท่านั้น แต่นักลงทุนจำเป็นต้องรู้วิธีการใช้งานเครื่องมือเหล่านั้นด้วย และนั่นก็คือจุดที่การบริหารความเสี่ยงในการลงทุนกลายมาเป็นพันธมิตรในการเทรดและเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จในการเทรดให้กับคุณได้

ลองจินตนาการถึงการใช้กลยุทธ์ที่เทรดเดอร์มืออาชีพใช้ในการบริหารความเสี่ยงและบรรลุตามเป้าหมายได้อย่างสม่ำเสมอ ด้วย Exness คุณเองสามารถนำกลยุทธ์เหล่านี้ไปปรับใช้ได้ ในบทความนี้เราจะชวนคุณไปรู้จักกับ 3 เคล็ดลับการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งในระยะยาว ถ้าพร้อมแล้วตามไปดูกันเลย!

การกำหนดขนาดตำแหน่ง (Position sizing)

การกำหนดขนาดตำแหน่งช่วยให้เทรดเดอร์แน่ใจได้ว่าจะไม่เปิดรับการเทรดที่มากเกินไป เป็นอีกวิธีการของเทรดเดอร์มืออาชีพในการบริหารความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นเพื่อให้ได้รับผลกำไรสูงสุด

ในการกำหนดปริมาณการเทรด แทนที่จะใช้แนวทางเดียวที่เหมาะกับทุกคนหรือกับทุกสถานการณ์ คุณสามารถปรับขนาดของตำแหน่งตามระดับความเสี่ยงที่คุณเองรับได้ต่อการตัดสินใจในการเทรดแต่ละครั้ง

สมมติว่าคุณมีบัญชีการเทรด 1,000 ดอลลาร์ การยอมรับความเสี่ยง 1% ต่อการเทรด หมายความว่าคุณเสี่ยง 10 ดอลลาร์ ในการเคลื่อนไหวหนึ่งครั้ง หากจุดหยุดขาดทุน (Stop Loss) อยู่ห่างจากจุดเริ่มต้นในการเทรดหุ้น 1 ดอลลาร์ คุณสามารถซื้อได้ ขนาดของตำแหน่งนี้ช่วยให้คุณมั่นใจว่า หากสัญญาณ Stop Loss ทำงาน คุณจะเสียเงินเพียง 10 ดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็น 1% ของบัญชีของคุณ เพื่อปกป้องเงินทุนของคุณจากการขาดทุนจำนวนมาก

การกำหนดขนาดตำแหน่งไม่ได้เป็นเพียงแค่การลดความเสี่ยงเท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มศักยภาพในการทำกำไร ด้วยการปรับขนาดการเทรดให้เหมาะสม คุณสามารถควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวของตลาดในพอร์ตการลงทุนของคุณ ไม่ว่าคุณจะเทรดหุ้น forex หรือสินทรัพย์อื่นๆ วิธีการนี้ช่วยให้คุณสามารถรับมือกับพายุแห่งความผันผวนและสามารถอยู่รอดในเกมได้ในระยะยาว

การวางคำสั่ง Stop Loss และ Take Profit

หากคุณต้องการนอนหลับสนิท เชื่อเถอะว่าคำสั่ง Stop Loss และ Take Profit เป็นกลยุทธ์ที่จำเป็น แล้วคำสั่ง Stop Loss และ Take Profit คืออะไร เลื่อนลงไปด้านล่างเพื่อทำความรู้จักได้เลย

Stop Loss (SL)

Stop Loss (SL) คือ การตั้งค่าเพื่อออกจากตำแหน่งโดยอัตโนมัติในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เป็นหนึ่งในกระบวนการจัดการความเสี่ยงเพื่อลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น สำหรับหุ้นให้วาง Stop Loss ไว้ต่ำกว่าระดับแนวรับหลัก หรือใช้เปอร์เซ็นต์คงที่ของราคาเข้า ใน Forex ให้ยึด Stop Loss ตามความผันผวนของสกุลเงิน โดยอาจพิจารณาใช้ตัวบ่งชี้ Average True Range (ATR) มาใช้เป็นแนวทาง

Take Profit (TP)

ในทางกลับกัน คำสั่ง Take Profit (TP) จะล็อคกำไรของคุณโดยขายเมื่อบรรลุเป้าหมายกำไรแล้ว สำหรับหุ้นให้เล็งไปที่จุดสูงสุดในอดีตหรือตั้งเป้าหมายผลตอบแทน 10-20% สำหรับ Forex และสินค้าโภคภัณฑ์ ให้ปรับ Take Profit ให้สอดคล้องกับระดับสำคัญของตลาด หรือใช้อัตราส่วนความเสี่ยง/ผลตอบแทนที่เหมาะสม

การคำนวณตำแหน่งที่สมบูรณ์แบบสำหรับ Stop Loss และ Take Profit นั้นจริงๆ แล้วค่อนข้างมีความตรงไปตรงมา ให้ใช้เปอร์เซ็นต์คงที่ของเงินลงทุนเพื่อกำหนด Stop Loss และตั้ง Take Profit ณ จุดที่มีอัตราส่วนความเสี่ยง/ผลตอบแทนที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่คุณใช้ เช่น กลยุทธ์ 1:2 

ยกตัวอย่างเช่น ในการเทรด Forex หากคุณมีทุน 10,000 ดอลลาร์ และไม่ต้องการเสี่ยงมากกว่า 1% คุณจะตั้ง Stop Loss ห่าง 50 พิพส์ โดยมีมูลค่า 2 ดอลลาร์ต่อพิพส์ ซึ่งหมายความว่า หากตำแหน่ง Take Profit ของคุณอยู่ห่าง 100 พิพส์ คุณจะมีโอกาสได้รับกำไร 200 ดอลลาร์

ลองปรับใช้วิธีเหล่านี้ให้เหมาะกับความผันผวนที่แตกต่างของสินทรัพย์ที่คุณเทรด และอย่าลืมว่าการปรับกลยุทธ์อย่างสม่ำเสมอตามแนวโน้มของตลาดและประสบการณ์ส่วนตัว จะเป็นกุญแจนำพาคุณสู่ความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในการเทรด

อัตราส่วนความเสี่ยง/ผลตอบแทน

เทรดเดอร์อาจใช้ประโยชน์จากอัตราส่วนความเสี่ยง/ผลตอบแทนเข้ามาช่วยเทรดได้อย่างมีกลยุทธ์และคำนวณไว้อย่างรอบคอบเพื่อให้สามารถตัดสินใจเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จตามที่ตั้งใจ

อัตราส่วนความเสี่ยง/ผลตอบแทน คืออะไร

อัตราส่วนความเสี่ยง/ผลตอบแทน คือ ระดับความสมดุลของการเทรด โดยเปรียบเทียบสิ่งที่คุณยินดีที่จะสูญเสีย (ความเสี่ยง) กับสิ่งที่คุณมุ่งหวังจะได้รับ (รางวัล) เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญที่แนะนำเทรดเดอร์ในการระบุตำแหน่งที่มีแนวโน้มว่าจะทำกำไร

วิธีนำอัตราส่วนความเสี่ยง/ผลตอบแทน มาการประยุกต์ใช้งานจริงในการเทรด

สมมติว่าคุณกำลังจับตามองหุ้นที่ 50 ดอลลาร์ และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น คุณตั้งค่า Stop-loss ที่ 45 ดอลลาร์ เพื่อป้องกันการลดลง นั่นคือความเสี่ยง 5 ดอลลาร์ คุณคาดว่าราคาหุ้นอาจเพิ่มขึ้นเป็น 60 ดอลลาร์ มีโอกาสได้กำไร 10 ดอลลาร์ ซึ่งหมายความว่าคุณมีอัตราส่วนความเสี่ยง/ผลตอบแทนที่ 1:2 หรืออธิบายได้ง่ายๆ คือ สำหรับทุกๆ ดอลลาร์ที่มีความเสี่ยง คุณคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนเป็นสองเท่า

ประโยชน์ของกลยุทธ์การเทรดโดยคำนึงถึงอัตราส่วนความเสี่ยง/ผลตอบแทน

ในการค้นหาการเทรดที่มีอัตราส่วนความเสี่ยง/ผลตอบแทนที่ดี เช่น 1:2 หรือสูงกว่า คุณจะอยู่ในสถานการณ์ที่กำไรที่คุณเทรดได้สามารถชดเชยการขาดทุนได้ แม้ว่าจะไม่ใช่ทุกการเทรดที่จะได้กำไร แต่การเทรดที่มีศักยภาพในการให้ผลตอบแทนสูงกว่าจะสามารถชดเชยการขาดทุนและนำไปสู่กลยุทธ์การเทรดที่ทำกำไรโดยรวมได้

อัตราส่วนนี้เป็นหลักการสำคัญของการเทรดอย่างมีวินัย เพื่อให้มั่นใจว่าการเทรดของคุณไม่ใช่การเสี่ยงโชคแต่เป็นความเสี่ยงที่คำนวณไว้แล้ว ด้วยกรอบความเสี่ยง/ผลตอบแทนที่มั่นคง คุณสามารถเข้าสู่ตลาดได้อย่างมั่นใจ โดยรู้ว่ากลยุทธ์ของคุณมีเป้าหมายเพื่อความยั่งยืนและการเติบโต

สรุป

กล่าวโดยสรุป ตอนนี้เป็นเวลาที่คุณจะต้องควบคุมโชคชะตาทางการเงินของคุณ ลงทะเบียนเพื่อเทรดกับ Exness วันนี้ เพื่อเข้าร่วมกับกลุ่มเทรดเดอร์ที่มีเครื่องมือการวิเคราะห์ระดับสูง เครื่องมือที่ใช้งานง่าย และความรู้หรือเทคนิคในการใช้งานเครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าคุณกำลังมองหาการสร้างรายได้เาริมหรือต้องการวางรากฐานสำหรับเส้นทางทางการเงินใหม่ๆ Exness คือพันธมิตรของคุณในการเดินทางครั้งนี้ เปิดบัญชีตอนนี้และเริ่มต้นใช้ประโยชน์จากกระแสความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ พร้อมแล่นเรือสู่ความมั่งคั่งที่กำลังรอคุณอยู่ที่ Exness


ข้อมูลนี้ไม่ถือเป็นคำแนะนำการลงทุน ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาไม่อาจใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ผลการดำเนินงานในอนาคต เงินลงทุนของคุณมีความเสี่ยง โปรดเทรดอย่างรอบคอบ


ผู้เขียน:

Team Exness

Team Exness